สวัสดีจ้า...วันนี้เราจะมาเล่าถึงประวัติความเป็นมาของการสักลายกันแบบคร่าวๆ น๊าา :))
" การสักลายได้กำเนิดขึ้นมาในสมัยไหนนั้นยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน มีนักโบราณคดีบางคนสันนิษฐานว่า การสักลายน่าจะเกิดจากความบังเอิญ ที่มนุษย์ในสมัยโบราณอาจจะไปถูกกิ่งไม้บางชนิดบาดเข้าแล้วเกิดสีขึ้น จึงทำให้มนุษย์ในสมัยนั้นรู้จักการสักลาย
การสักลายที่พบได้ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก ลักษณะของลายสักก็แตกต่างกันไปตามประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศนั้น และลายสักของแต่ละประเทศก็มีรูปแบบและวิธีการสักที่แตกต่างกัน แต่หน้าที่เหมือนกันคือการสร้างสีสันลวดลายบนหนังมนุษย์ โดยการทำให้ผิวหนังเปิดขึ้นเพื่อใส่สีเข้าไป หรือที่เราเรียกว่าการย้อมผิวหนัง
นักโบราณคดีบางคนให้ความเห็นว่า การสักลายและการเขียนลายของชนเผ่าต่างๆนั้น อาจจะทำขึ้นเพื่อให้ศัตรูเกิดความกลัว หรือเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนักรบของเผ่าตนเอง
ก่อนปี 1991 นักโบราณคดีเชื่อว่าการสักลายน่าจะกำเนิดขึ้นในราว 2-3,000 ปี โดยพบเครื่องเคลือบดินเผาของจีนซึ่งมีรูปคน ที่มีลายสัก และมีการพบมัมมี่ที่มีลายสักในอียิปต์ซึ่งน่าจะมีอายุราว 3,000 ปี
แต่ในปี ค.ศ.1991 นักท่องเที่ยวชาวเยอรมัน 2 คน ได้ค้นพบร่างมนุษย์ชายที่ฝังอยู่ในน้ำแข็งที่ช่วยรักษาร่างกายไม่ให้เน่าเปื่อย ระหว่างประเทศออสเตรียและอิตาลี ซึ่งอยู่สภาพที่สมบูรณ์ หลังจากการตรวจสอบทางวิชาการอย่างละเอียดพบว่ามนุษย์ผู้นี้น่าจะมีอายุประมาณ 5,300 ปี และได้ขนานนามชายผู้นี้ว่า Otzi ซึ่งเป็นชื่อของเทือกเขาที่ค้นพบ จากการตรวจสอบพบว่าลายสัก 57 ตำแหน่ง โดยบางจุดเป็นจุดที่ใกล้เคียงกับจุดฝังเข็มรักษาโรค ซึ่งนักโบราณคดีคาดว่าลายสักตำแหน่งบางที่ไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง จึงสันนิษฐานว่าน่าจะมีผู้ทำการสักให้
การพบ Otzi ทำให้วงการสักต้องทบทวนประวัติศาสตร์ใหม่ และมีการคาดการณ์ว่าการสักลายนั้นอาจจะเกิดขึ้นก่อนหน้านี้เป็นเวลานานมาก คาดว่าในอนาคตเราอาจจะค้นพบว่าการสักลายมีขึ้นในยุคใดแน่ ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถทราบได้ว่าการสักลายกำเนิดขึ้นได้อย่างไรหรือยุคใดก็ตาม การสักลายน่าจะเป็นวัฒนธรรม ประเพณี และเป็นศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดก็เป็นได้ "
................................................................................................
**วันนี้พอแค่นี้ก่อน คิคิ ..เดี่ยวเรามาอัพเดตถึงประวัติกันต่อน่ะจ้าา :))
อ้างอิงข้อมูล : http://www.saklaitattoo.com/th/history/
อ้างอิงรูปภาพ : http://kalembiticeyn.wordpress.com/tag/miami-ink/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น