วันนี้เรามารู้เรื่องราวของรอยสักในประเทศไทย กันบดีกว่านะค่ะ ^^
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ เขียนว่า
"สัก (ก.)การเอาเหล็กแหลมแทงลงด้วยวิธี การหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน, ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระ เครื่องหมายหรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึกเรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้น้ำมันเรียกว่า สักน้ำมัน
** ตัวอย่างรอยสักยันต์ **
การสักยันต์มีต้นกำเนิดมาจากกัมพูชา โดยใช้ภาษาขอมในการลงคาถา ชาวขอมในสมัยก่อนจะสักยันต์ที่ ศีรษะ เท้า หน้าอก แขน หรือแม้กระทั่งนิ้ว เคยมีชาวจีนบันทึกไว้ว่ามีกษัตริย์ขอมชื่อ King Jayavarman VII ได้ลองทดสอบความคงกระพันของยันต์โดยการให้ยิงธนูใส่ตน พบว่าธนูเด้งสะท้อนกลับจากตัวท่าน
.
..ส่วนการสักยันต์ ในประเทศไทยอาจจะมีมาแต่โบราณ แต่จะมีมาตั้งแต่สมัยใดนั้นไม่มีหลักฐานชัดเจน ผู้ชายสมัยก่อนจะสักยันต์ด้วยเหตุผลทางเวทมนต์คาถาเพื่อความแข็ง
แกร่งของจิตใจและต้องการอยู่ยงคงกระพัน
ตัวอย่างยันต์ ซ้ายบนคือยันต์เก้ายอด ซ้ายล่างคือยันต์ห้าแถว ส่วนอีกสองอันเราไม่รู้ชื่อ
ไม่แน่ใจว่าขวาบนคือยันต์มหาอุตม์รึเปล่า
การสักยันต์ที่มีลวดลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในบรรดาผู้ที่นิยมการสัก คือ ลวดลายสักที่ให้ผลทางไสยศาสตร์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
เพื่อผลทางเมตตามหานิยม และเพื่อผลทางคงกระพันชาตรี
- เมตตามหานิยม เป็นการสักเพื่อผลทางเมตตามหานิยมมักจะสักเป็นรูปจิ้งจก หรือนกสาริกาเพื่อเป็นตัวแทนของความมีเสน่ห์เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป โดยเฉพาะให้ผลดีทางการเจรจา ค้าขายทำให้เจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้น หรือเป็นลักษณะตัวอักขระยันต์ เช่น ยันต์ดอกบัว ยันต์ก้นถุง ยันต์โภคทรัพย์ ซึ่งมีผลทางด้านการเงิน เป็นต้น
- คงกระพันชาตรี เป็นการสักยันต์ เพื่อให้แคล้วคลาดจากของมีคม อุบัติเหตุ หรืออันตรายทั้งปวง ลักษณะของลายสักเพื่อผลทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีจะนิยมสักลวดลายซึ่งเป็นตัวแทนความดุร้าย ความปราดเปรียว ความสง่างาม ความกล้าหาย ได้แก่ ลายเสือเผ่น หนุมานคลุกผุ่น หงส์ และลายสิงห์ เป็นต้น หรือเป็นลายที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันภยันตราย เช่น เก้ายอด ยันต์เกราะเพชร หรือลายยันต์ชนิดต่างๆ เป็นต้น
ตัวอย่างภาพรอยสักยันต์เก้ายอด ห้าแถว ยันต์เสือคู่
การสักมีลักษณะที่สอดแทรกไว้ด้วยความเชื่อและพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น ก่อนทำการสักจะต้องมีการทำพิธีไหว้ครู ในการสักนั้นก็จะประกอบด้วยการร่ายเวทมนต์โดยอาจารย์สักจะถูผิวหนังของผู้มาสักทั้งก่อน ขณะสักลายหรือสักยันต์ และหลังจากสักเสร็จแล้ว
- ห้ามด่าบิดามารดาของตนเอง เพราะบิดามารดาท่านเป็นผู้ให้กำเนิดเรามาถือว่าท่านเป็นครูคนแรกที่สอนเรามา อีกทั้งเปรียบเสมือนเทพชั้นพรหม
- ห้ามผิดลูกเมียเขา เพราะอยู่ในศิลข้อ 5 ที่น่าจะควรถืออยู่แล้ว
- ห้ามกินน้ำเต้า มะเฟือง บวบ ฟัก เพราะว่าธาตุเย็นจะไปลบล้างว่านที่เขาผสมลงไปตอนที่สักยันต์ ของจะเสื่อม
- ห้ามลอดกระไดหัวเดียว
- ห้ามลอดราวตากผ้า
- ห้ามรับประทานผักลื่น ผักปลัง
- ห้ามรับประทานปลาที่ลื่น ปลาดุก ปลาไหล ปลาสวาย
- ห้ามคนข้ามตัว
- ห้ามให้ผู้หญิงอยู่เหนือศรีษะ
- ห้ามให้ผู้หญิงคร่อม
และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เป็นแก่นแท้ของการสักยันต์ เพื่อผลทางไสยศาสตร์ และถือกันว่าเป็น
“หัวใจของการสักก็คือ หัวใจของคาถาที่กำกับลวดลายสักแต่ละลายอยู่ เพราะสิ่งนี้คือเคล็ดลับวิชาคาถาอาคมที่เป็นวิชาชั้นสูงของแต่ละอาจารย์ที่จะไม่เปิดเผยให้แก่ผู้ใดเป็นอันขาด”
นอกจากลูกศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้รับถ่ายทอดวิชาการสักยันต์ของอาจารย์สืบต่อไป
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสักไม่ได้รับความสนใจเหมือนในอดีตคือชาวเมืองและรวมถึงผู้คนทั่วไปมองว่า ผู้ที่มีลายสักเป็นคนชั้นต่ำ เป็นนักเลง ความคิดเช่นนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากชาวตะวันตก ที่มองผู้ที่ลายสักว่าส่วนใหญ่มักเป็นกลาสีขี้เมา หรือคนจรจัด คนเมืองจึงเกิดความรู้สึกว่าลายสักเป็นวัฒนธรรม ของคนบ้านนอก คนไม่มีการศึกษา ทัศนคติเช่นนี้มิได้มีแต่คนกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่แพร่ไปสู่เมืองอื่นๆ ด้วยโดยคิดว่าการสักลายเป็นเรื่องของคนจน กรรมกร และคนบ้านนอก
ความเสื่อมอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ได้รับการสักปฏิบัติตนไม่เหมาะสมใช้ผลของการสักยันต์ทางไสยศาสตร์หรือการอยู่ยงคงกระพันชาตรีไปในทางที่ผิด เช่น โอ้อวด ท้าทาย ประลองต่อสู้กับผู้อื่น ทำตนเป็นมิจฉาชีพ ก่ออาชญากรรม ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ค่านิยมของคนที่มีต่อลายสักเป็นไปในทางลบยิ่งขึ้น !!
............................................................................................................
แต่...ในยุคสมัยปัจจุบันนั้นการสักยันต์ส่วนใหญ่ได้เปลียนแปลงไป เป็นกระแสนิยม สักกันเป็นแฟร์ชั่น ขาดซึ่งศรัทธาที่แท้จริง เป็นการสักเพื่อโอ้อวด แข่งขัน ประชันความสวยงามกัน ย่อหย่อนในข้อปฏิบัติตามที่ครูบาอาจารย์ท่านได้กำหนดและปฏิบัติกันมา ทั้งผู้ที่ตั้งตนเป็นอาจารย์สัก และผู้ที่ถูกสักขาดการศึกษาในเรื่องข้อห้ามข้อปฏิบัติเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ที่สักยันต์นั้นถูกมองในทางไม่ดี
เพราะผู้ที่สักยันต์นั้นไม่ปฏิบัติตามข้อห้าม ข้อปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ท่านกำหนดไว้ ประพฤติตนไม่เหมาะสม ทำตัวเสื่อมเสีย ไม่อยู่ในศีลธรรมดั่งเจตนาของครูบาอาจารย์ทำให้คนทั่วไปที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ
มองผู้สักยันต์ในทางที่ลบ
การสักยันต์นั้น เราต้องมีความเคารพศรัทธา เชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์และมีคุณธรรมประจำใจ ปาฏิหารย์เกิดจากศรัทธา ความเจริญก้าวหน้าเกิดจากคุณธรรม การสักยันต์นั้นเพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้เพิ่มขึ้นและเป็นการระลึกถึงครูบาอาจารย์ที่ประสาทประสิทธฺ์ยันต์นั้นให้แก่เรา เพื่อให้เรามีสติและคุณธรรมในการดำรงค์ชีวิต คนที่เคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ย่อมมีความเจริญก้าวหน้าและประสพกับความสำเร็จในชีวิต
ถ้าเราสักยันต์ไปแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตามข้อห้ามข้อกำหนดที่เรียกว่า" ผิดครู" ยันต์ที่สักไปนั้นก็ไม่มีความขลัง ไม่มีปาฏิหารย์ เป็นเพียงรอยสีรอยหมึกรูปภาพบนร่างกายเท่านั้น แต่ถ้าผู้ที่สักยันต์มานั้นปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ท่านกำหนดไว้ไปประพฤติปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรม ก็ย่อมมีความสำเร็จดังปรารถนาสมกับยันต์ที่ได้สักลงมาบนร่างกายเพราะมีความเคารพ เชื่อมั่น ศรัทธา มีสติและคุณธรรมคุ้มครองจิต ชีวิตของเขาย่อมมีความสุขความเจริญนั่นเอง
.............................................
......ชัดเจนนะค่ะ สำหรับผู้ที่รักและชอบการสักยันต์ ควรปฏิบัติตามข้อกำหนดกันด้วยน๊าาา ^^......
อ้างอิง : http://xn--12c4bl9a0b3bc2t.blogspot.com/2012/11/blog-post.html
อ้างอิง : http://pantip.com/topic/32281723
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น